ประวัติและความเป็นมา


เทศบาลตำบลพันดุง

      ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า มีพระยาคนหนึ่ง ได้ขโมยเงินจากท้องพระคลังหลวงในเมือง บรรทุกมาด้วยเรือสำเภาลำหนึ่ง พอแล่นมาได้ระยะหนึ่งก็มาติดล่องน้ำตื้น ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง จำนวนเงินที่พระยาบรรทุกมามีจำนวนพันดุลย์ (ไม่ทราบว่าเป็นจำนวนเงินเท่าไร) คำว่า “พันดุลย์” จึงเป็นชื่อเรียกหมู่บ้านที่พระยานำเรือมาเกยตื้น จากหมู่บ้านพันดุลย์ เมื่อเรียกชื่อต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “บ้านพันดุง” จนมาถึงปัจจุบัน  และตามประวัติเล่าขานกันต่อมาว่า ทางการส่งทหารมาจับพระยา และจับได้ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านพันดุง ประมาณ 5 กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้จึงมีชื่อว่า “บ้านกุมพระยา” หมายถึงจับกุมพระยาได้บริเวณนี้ ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น “บ้านกุ้มพะยา”และประวัติเล่าต่อมาว่า เรือสำเภาลำนี้ หัวเรืออยู่ทิศเหนือของหมู่บ้าน มีหินรองหัวเรืออยู่ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่บ้านนายยนต์ ขึมสันเทียะ อยู่บ้านพันดุงพัฒนา ส่วนหางเรือมีหินรองรับอยู่ก้อนหนึ่ง อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่บ้านนายสันติ งัดสันเทียะ อยู่บ้านศิลาทอง                     

      ข้อสันนิษฐานตำนานประวัติหมู่บ้านพันดุง หลายท่านบอกว่าไม่น่าเชื่อจะเป็นไปได้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลพันดุงจะเป็นที่ราบสูง ซึ่งสูงจากน้ำทะเลถึง 190 -195 เมตร ไม่น่าจะมีเรือเข้ามาได้ แต่ตามภูมิประเทศแต่เดิมมีคลองที่แยกออกจากคลองลำเชิงไกร อำเภอโนนไทย จะเป็นคลองที่ไหลมาทางบ้านโตนด ปัจจุบันเรียกคลองนี้ว่า คลองขาม และไหลเรื่อยมาทางด้านตะวันออกของหมู่บ้านพันดุง เรียกว่า คลองมะขาม ไหลเรื่อยมาทางทิศใต้เรียกว่าของหมู่บ้านพันดุง

       เรียกว่า คลองหัวนอนบ้าน และจะเป็นคลองเล็กๆ เรื่อยไปถึงสะพานคอนกรีตที่เห็นในปัจจุบันอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านหนองสรวง ตำบลหนองสรวง (ปัจจุบันคลองเหล่านี้บางแหล่งได้สลายไปหมดแล้ว) สันนิษฐานว่าน่าจะเคยเป็นคลองขนาดใหญ่พอที่เรือจะผ่านได้ และเส้นทางน้ำสายนี้น่าจะเป็นที่สัญจรไปสู่เมืองหน้าด่าน คือ ด่านนอก ด่านในและด่านขุนทด ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองในสมัยโบราณ

       ต่อมาเมื่อปี พ.ศ 2502 ได้มีชาวบ้านบ้านพันดุง ชื่อ นายยนต์ ขึมสันเทียะ ได้ใช้รถแทรกเตอร์ปรับพื้นที่ดินซึ่งมีลักษณะเป็นโนนสูงมาก เพื่อทำประโยชน์ใช้สอย ซึ่งที่แห่งนี้คนแก่หลายท่านได้บอกว่าเป็นที่ตั้งวัดมาก่อน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ตำบลพันดุงมีโนนสูงดังกล่าวหลายลูกปรากฏให้เห็นอยู่ เมื่อกำลังปรับพื้นที่ปรากฏว่าได้พบใบเสมาและเครื่องมือเหล็กต่างๆหลายรายการ นายยนต์ ขึมสันเทียะจึงมอบโบราณวัตถุเหล่านี้ให้กรมศิลปากร ทางกรมศิลปากรได้แปลอักษรที่จารึกเอาไว้ที่แผ่นใบเสมาที่พบเห็น โดยบรรทัดสุดท้ายของตัวอักษรนั้นระบุวันเดือนปีที่สร้างใบเสมานี้ โดยสร้างตั้งแต่วันเสาร์ เดือน 1 ขึ้น 8 ค่ำ ปีศักราช 751 (พ.ศ. 1372) ซึ่งถ้าจะนับเวลาสร้างใบเสมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2550)ก็จะเป็นเวลาถึง 1,177 ปี ซึ่งนับว่าเป็นเวลานานมาก (ดูหลักฐานยืนยันได้จากเอกสารในภาคผนวก) ซึ่งก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเสียอีก จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่า ถ้าเป็นระยะเวลายาวนานมากมายขนาดนี้ ในสมัยโบราณอาจจะมีคลองขนาดใหญ่ ที่เรือสำเภาแล่นมาได้ก็อาจเป็นไปได้ ในปัจจุบันใบเสมาที่อ้างถึง ทางกรมศิลปากรได้เก็บเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จึงอาจกล่าวได้ว่า หมู่บ้านพันดุง เป็นหมู่บ้านที่ตั้งมานานเป็นระยะเวลานับพันกว่าปีมาแล้ว

      เดิมนั้น ตำบลพันดุง อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอโนนไทย  จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตำบลพันดุงในสมัยก่อนเป็นตำบลใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลบึงอ้อ อำเภอขามทะเลสอ และพื้นที่บางส่วนของตำบลค้างพลู อำเภอโนนไทย  จึงนับว่าเป็นตำบลที่ใหญ่ตำบลหนึ่ง เมื่อสมัยอยู่อำเภอโนนไทย ผู้ที่เป็นกำนันของตำบลที่มีชื่อเสียงคือ กำนันสร้อย ศรีอภัย ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนสุนทรโวหาร

      พ.ศ. 2501 กระทรวงมหาดไทยได้ตั้งกิ่งอำเภอขามทะเลสอขึ้นมา  โดยมีความต้องการจะรวบรวมตำบลพันดุงไปทั้งหมด แต่กำนันตำบลพันดุงในสมัยนั้นไม่เห็นด้วย ยังคงต้องการขึ้นต่ออำเภอโนนไทยต่อไป ในปีนี้เองหมู่บ้านต่างๆในตำบลพันดุง ไม่ว่าจะเป็น บ้านบึงอ้อ บ้านโนนตาล บ้านกุ่มพะยา บ้านหนองกระทุ่ม บ้านบุรไหว (ซึ่งในปัจจุบันอยู่ตำบลบึงอ้อ) ชาวบ้านเห็นว่า กิ่งอำเภอขามทะเลสออยู่ใกล้ การคมนาคมสะดวกกว่าการไปอำเภอโนนไทย จึงขอแยกตัวออกจากตำบลพันดุง มาตั้งเป็นตำบลบึงอ้อ และขึ้นต่อกิ่งอำเภอขามทะเลสอ ต่อมาอีก 2 ปีบ้านหนองกระโดน บ้านดอน

มะเกลือก็ขอแยกมาอยู่กับตำบลบึงอ้อด้วย สมัยนั้นได้มีพระอธิการผัน นาคเสโน เจ้าอาวาสวัดพันดุง  ,พระ พ.ท. จันทร์ ทนงจิตร เป็นข้าราชการบำนาญ และนายไพรวัน วัฒนดิลกวิทย์ ซึ่งเป็นครู

สอนนักเรียนอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดพันดุง ได้ช่วยกันรวบรวมรายชื่อชาวบ้านที่สมัครใจจะขึ้นต่อกิ่งอำเภอขามทะเลสอ เสนอไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพราะเห็นว่าใกล้กว่าและการคมนาคมสะดวกกว่ากันมาก

     พ.ศ. 2509 กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้ตำบลพันดุงขึ้นต่อกิ่งอำเภอขามทะเลสอ แต่มีหมู่บ้านหนองประดู่ที่แต่เดิมสังกัดตำบลพันดุงไม่ยอมโอนมาอยู่กับกิ่งอำเภอขามทะเลสอ ยังยินดีอยู่กับอำเภอโนนไทยต่อไป  และกิ่งอำเภอขามทะเลสอจึงได้ยกฐานเป็นอำเภอขามทะเลสอ  

     เมื่อแยกมาอยู่กับอำเภอขามทะเลสอ ตำบลพันดุงก็เป็นตำบลที่เล็กลงไม่ใหญ่โตเหมือนแต่ก่อนเนื่องจากได้แยกออกเป็นตำบลบึงอ้อและตำบลค้างพลูบางส่วน ทำให้มีหมู่บ้านอยู่ 4 หมู่คือ บ้านพันดุง หมู่ที่ 1, บ้านโตนด หมู่ที่ 3, บ้านโคกแขวน หมู่ที่ 4 ,และบ้านหนองสะแก หมู่ที่ 5

ต่อมาได้ทำการแบ่งแยกหมู่บ้านต่างๆเพิ่มขึ้นรวม เป็น 11 หมู่บ้านดังนี้

        1. บ้านพันดุง หมู่ที่ 1 แยกออกอีก  3 หมู่บ้านคือ

            - บ้านพันดุงพัฒนา หมู่ที่ 7, บ้านศิลาทอง หมู่ที่ 10 , บ้านหนองหัวแหวน หมู่ที่ 6

        2. บ้านโตนด หมู่ที่ 3 แยกออกอีก 1 หมู่ที่บ้านคือ

            - บ้านพูนผล หมู่ที่ 9

        3. บ้านโคกแขวน  หมู่ที่ 4 เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านโคกแขวนเก่า โดยแยกออกอีก 2 หมู่บ้านคือ

            - บ้านโคกแขวนใหม่ หมู่ที่ 2 , บ้านโคกแขวนพัฒนา หมู่ที่ 8

        4. บ้านหนองสะแก หมู่ที่ 5  แยกออกอีก 1 หมู่บ้านคือ

            - บ้านหนองสะแกพัฒนา หมู่ที่ 11

 

999arch คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์